องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คือ อะไร มีประเทศ อะไรบ้าง
องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) คือ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก 13 ประเทศ โดยมีจุดประสงค์ร่วมกันคือมุ่งจัดการอุปทานน้ำมันและมีความพยายามที่จะกำหนดราคาน้ำมันในตลาดโลกเพื่อหลีกเลี่ยงความผันผวนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของทั้งประเทศที่ผลิตน้ำมันและประเทศที่จัดซื้อน้ำมัน
โอเปก หรือ Organization of the Petroleum Exporting Countries (OPEC) ก่อตั้งขึ้นในปี 1960 (พ.ศ 2503) โดยสมาชิกกลุ่มแรกคือ อิหร่าน อิรัก คูเวต ซาอุดีอาระเบีย และ เวเนซุเอลา สํานักงานใหญ่ของโอเปกอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ปัจจุบันกลุ่มประเทศสมาชิกของโอเปกถือน้ำมันดิบสำรอง ประมาณ 79.4% (ข้อมูลจาก เว็บไซต์ของ OPEC)
องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC) มีประเทศ อะไรบ้าง
ปัจจุบันโอเปก มีสมาชิก 13 ประเทศ ดังนี้
-
อิหร่าน (กลุ่มประเทศก่อตั้งในปี 1960)
-
อิรัก (กลุ่มประเทศก่อตั้งในปี 1960)
-
คูเวต (กลุ่มประเทศก่อตั้งในปี 1960)
-
ซาอุดีอาระเบีย (กลุ่มประเทศก่อตั้งในปี 1960)
-
เวเนซุเอลา (กลุ่มประเทศก่อตั้งในปี 1960)
-
ลิเบีย (เข้าร่วมเมื่อ ปี 1962)
-
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (เข้าร่วมเมื่อ ปี 1967)
-
แอลจีเรีย (เข้าร่วมเมื่อ ปี 1969)
-
ไนจีเรีย (เข้าร่วมเมื่อ ปี 1971)
-
กาบอง (เข้าร่วมเมื่อ ปี 1975)
-
แองโกลา (เข้าร่วมเมื่อ ปี 2007)
-
อิเควทอเรียลกินี (เข้าร่วมเมื่อ ปี 2017)
-
สาธารณรัฐคองโก (เข้าร่วมเมื่อ ปี 2018)
มีประเทศที่เคยเข้าร่วมโอเปก แต่ปัจจุบันได้ถอนตัวออกไปแล้ว คือ
-
เอกวาดอร์ ถอนตัวจากองค์กร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2020
-
กาตาร์ ถอนตัวจากองค์กร เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2019
-
อินโดนี เซียถอนตัวจากองค์กร เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2016
มีผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกบางประเทศที่ไม่ได้เข้าร่วมโอเปก เช่น รัสเซีย จีน และ สหรัฐอเมริกา
วัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง องค์กรประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (OPEC)
-
ประสานงานและรวมนโยบายปิโตรเลียมของประเทศสมาชิก และ สร้างความมั่นใจในเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน เพื่อรักษาอุปทานปิโตรเลียมที่มีประสิทธิภาพ
-
มุ่งมั่นที่จะหาวิธีที่จะทำให้ราคาน้ำมันมีเสถียรภาพในตลาดต่างประเทศโดยไม่มีความผันผวนมากเกินไป