หน้าแรกKNOWLEDGEสกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง 

สกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง 

สกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง 

 

 

สกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ดอลลาร์แคนาดา (CAD) มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันเนื่องจากเป็นผู้ส่งออกน้ำมัน ในขณะที่ญี่ปุ่นอ่อนไหวต่อราคาน้ำมันเนื่องจากนำเข้าน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก ในขณะที่ ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD) และ ดอลลาร์นิวซีแลนด์ (NZD) มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับราคาทองคำ และ ราคาน้ำมัน

 

สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) หมายถึง สินค้าที่มีมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ผลิตก็ตาม เช่น เมื่อพูดถึง ทองคำ ทุกคนจะเข้าใจทันทีว่าหมายถึงอะไร มีลักษณะอย่างไร ซื้อหรือขายกันที่ราคาเท่าไหร่เท่าไร

วันนี้ ThaiFrx.com จะพาไปดูต้วอย่าง สกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์ ว่า มีอะไรบ้าง 

 

สินค้าโภคภัณฑ์ มีอะไรบ้าง

สินค้าโภคภัณฑ์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย 

  1. สินค้าด้านพลังงาน (Energy) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันเตา ก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

  2. โลหะอุตสาหกรรม (Industrial Metals) ได้แก่ อลูมิเนียม ทองแดง ตะกั่ว เป็นต้น

  3. โลหะมีค่า (Precious Metals) ได้แก่ ทองคำ และ เงิน

  4. สินค้าเกษตร (Agricultural) ได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง กาแฟ น้ำตาล เป็นต้น

  5. สินค้าปศุสัตว์ (Livestock) ได้แก่ Feeder Cattle, Live Cattle, Lean Hogs เป็นต้น

 

ในแต่ละประเทศจะมีสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities)ส่งออกที่สำคัญไม่เหมือนกัน เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น สกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกสำคัญจะมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น และ ในทางกลับกัน หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดต่ำลงก็อาจจะทำให้สกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้ส่งออกอ่อนค่าลง

บางประเทศมีความต้องการ สินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities) จากประเทศอื่น ๆ เนื่องจากประเทศของตนผลิตสินค้าโภคภัณฑ์นี้ไม่ได้ หรือผลิตไม่ได้ตามความต้องการอุปโภคบริโภคของคนภายในประเทศ เมื่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น สกุลเงินของประเทศที่เป็นผู้นำเข้าจะมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าลง แต่ถ้าราคาสินค้าโภคภัณฑ์ลดต่ำลงก็อาจจะทำให้สกุลเงินที่เป็นผู้นำเข้าจะมีแนวโน้มที่จะแข็งค่าขึ้น

 

ตัวอย่างสกุลเงิน ที่มี ความสัมพันธ์กับสินค้าโภคภัณฑ์

1.ญี่ปุ่นกับน้ำมัน

ญี่ปุ่น เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก  ดังนั้นราคาน้ำมันและปริมาณที่ต้องนำเข้าจึงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะส่งผลลบกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น อาจจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น มีความเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อได้ หรือ สินค้าที่ส่งออกอาจจะมีความสามารถในการแข็งขันลดลง เนื่องจากสินค้าที่เกี่ยวกับน้ำมันจะมีต้นทุนสูงขึ้น

แต่ในปัจจุบันที่เขียนบทความนี้ (เมษายน 2565) ญี่ปุ่นเป็นประเทศเศรษฐกิจสำคัญประเทศเดียวที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำมาตลอดหลายสิบปี จนถึงปัจจุบันที่ทั่วโลก อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์แต่ญี่ปุ่นสวนทางซะงั้น แถมค่าเงินเยนญี่ปุ่นตอนนี้อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 20 ปี สวนทางกับน้ำมันที่สถิติสูงสุด ภาวะเช่นนี้ก็ยิ่งจะทำให้เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะลำบากซึ่งธนาคารกลางญี่ปุ่นและรัฐบาลญี่ปุ่นคงทราบถึงปัญหานี้ดี และ คงจะมีมาตรการนโยบายการเงินและนโยบายการคลังออกมาในไม่ช้า

 

2.แคนาดากับน้ำมัน

 

เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็จะส่งผลต่อค่าเงิน ดอลลาร์แคนาดา (CAD)
เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็จะส่งผลต่อค่าเงิน ดอลลาร์แคนาดา (CAD)

 

แคนาดาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ดังนั้นเศรษฐกิจของประเทศจึงได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันในน้ำมันในตลาดโลก และ ปริมาณในประเทศที่ส่งออกได้ เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็จะส่งผลต่อค่าเงิน ดอลลาร์แคนาดา (CAD)

 

3.ออสเตรเลียกับทองคำ

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในผู้ผลิตทองคำรายใหญ่ของโลก ส่งผลให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากราคาทองคำในตลาดโลกและความสามารถในการส่งออกว่าได้มากน้อยเพียงใด และประเทศนิวซีแลนด์เป็นคู่ค้ารายใหญ่กับออสเตรเลีย ดังนั้นจึงมีความอ่อนไหวอย่างมากต่อความผันผวนของเศรษฐกิจของออสเตรเลีย ซึ่งหมายความว่านิวซีแลนด์จะได้รับผลกระทบอย่างมากจากความสัมพันธ์ของออสเตรเลียกับทองคำ

เมื่อราคาทองคำพุ่งสูงขี้น คู่สกุลเงิน AUD/USD และ NZD/USD มักจะพุ่งขึ้นตาม
เมื่อราคาทองคำพุ่งสูงขี้น คู่สกุลเงิน AUD/USD และ NZD/USD มักจะพุ่งขึ้นตาม

 

เมื่อราคาทองคำพุ่งสูงขี้น คู่สกุลเงิน AUD/USD และ NZD/USD มักจะพุ่งขึ้นตาม แต่ ถ้าหากว่าราคาทองคำร่วงต่ำลง AUD/USD และ NZD/USD ก็มักจะร่วงตาม

 

ตัวอย่างคู่สกุลเงินที่อ่อนไหวจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์

1.AUD/USD และ NZD/USD กับ ทองคำ เมื่อราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นนักลงทุนจะเข้าทำการซื้อคู่สกุลเงินนี้ เนื่องจากออสเตรเลียเป็นผู้ส่งออกทองคำรายใหญ่อันดับสี่ของโลก (ข้อมูล ปี 2008) และ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำเข้าทองคำรายใหญ่อันดับสามของโลก (ข้อมูล ปี 2009) และสาเหตุที่ NZD/USD มักเคลื่อนไหวตาม AUD/USD เนื่องจากประเทศนิวซีแลนด์เป็นคู่ค้ารายใหญ่กับออสเตรเลีย

 

2.CAD/JPY กับ น้ำมัน เนื่องจากญี่ปุ่น เป็นประเทศที่นำเข้าน้ำมันอันดับต้น ๆ ของโลก และ แคนาดาเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลก ดังนั้นเมื่อราคาน้ำมันพุ่งสูงขึ้น CAD/JPY ก็มักจะพุ่งขึ้นตาม หากราคาน้ำมันร่วง คู่สกุลเงิน CAD/JPY ก็มักร่วงตาม

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Technical Summary Widget Powered by Investing.com

ANALYSIS TODAY

Translate »