spot_imgspot_img
spot_img
หน้าแรกKNOWLEDGEทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex

ทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex

ทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex

ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ทำโดยธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก

 

ธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก ที่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อ Forex ประกอบไปด้วย

  1. ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (U.S. Federal Reserve System (Fed))

  2. ธนาคารกลางยุโรป (ECB)(European Central Bank (ECB))

  3. ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BOE) (Bank of England (BOE))

  4. ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) (Bank of Japan (BOJ))

  5. ธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) (Swiss National Bank (SNB))

  6. ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BOC) (Bank of Canada (BOC))

  7. ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) (Reserve Bank of Australia (RBA))

  8. ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) (Reserve Bank of New Zealand (RBNZ))

 

การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเราจะพอจะทราบข่าวที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งเดือน คู่สกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อาจจะมีการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้าที่จะประกาศอัตราดอกเบี้ย 2-3 สัปดาห์ หรือ อาจจะเป็นเดือน และ ในวันที่มีการประกาศราคาสวิงอย่างรุนแรงทันที หลังจากนั้นผ่านไปซักพักราคาอาจจะปรับตัวไปในทิศทางตรงข้ามเนื่องจากตลาดได้ซึมซับข้อมูลมาพอสมควรแล้ว ดังนั้นการทำความเข้าใจวิธีคาดการณ์ และ ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวที่ผันผวนเหล่านี้สามารถนำไปสู่การสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นได้

 

ประเด็นที่สำคัญ ทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex

  • ในตลาด Forex นักลงทุนที่ดีจะติดตามว่าอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินต่าง ๆ ผันผวนอย่างไร และ ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
  • ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเหล่านี้ คือ ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในแต่ละธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก
  • ก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หากมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเราพอจะทราบข่าวที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าเป็นเดือน และ ในวันที่มีการประกาศราคาสวิงอย่างรุนแรงทันที

 

การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางล่วงหน้า

มีข้อมูลและตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ที่จะบ่งชี้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศดีหรือไม่ดีอย่างไร หากนักลงทุนศึกษาตัวเลขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดี ๆ เราจะประมาณการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมากที่สุดที่เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง มีดังนี้
  1. ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index (CPI))
  2. การบริโภคและจับจ่ายในประเทศ ( Consumer Spending )
  3. อัตราการว่างงาน  (Employment levels)
  4. ตลาดซับไพรม์ (Subprime market)
  5. ตลาดที่อยู่อาศัย (Housing market)

 

อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาจากอะไร 

สาเหตุที่ธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เกิดขึ้นจากความกังวล ต่ออัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ธนาคารกลางต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ลดต่ำลงตามเป้าหมายที่ธนาคารกลางต่าง ๆ ต้องการ ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย

 

 

อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาจากอะไร 
อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาจากอะไร

 

ในทางตรงกันข้ามธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราเงินเฟ้อต่ำ หรือ เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย หรือ อยู่ในช่วงวิฤติต่าง ๆ เช่นผลกระทบจากโควิด ธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้น โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ที่จะส่งเม็ดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ลดลงตามไปด้วย

 

อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงส่งผลกับค่าเงินอย่างไร 

อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีดอกเบี้ยสูงขึ้น ค่าเงินแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องหรือมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกค่าเงินก็จะแข็งค่าค่อนข้างมาก

ตัวอย่างธนาคารกลางเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินแข็งค่า
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50%  ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ และ เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561

 

ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

 

จากกราฟดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในวันที่ประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มีนาคม 2565 ดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐในวันนี้ปรับตัวลงเนื่องจากตลาดได้ซึมซับมามากพอแล้วกับข่าวธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนเมษายน 2565 ดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ได้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ทะลุ 100 แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอีก 0.25-0.50% ในเดือน พฤษภาคม

 

อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น ซึ่งเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีดอกเบี้ยลดต่ำลง ค่าเงินแข็งอ่อนค่าลง หากเงินไหลออกอย่างต่อเนื่องหรือมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก

ตัวอย่างธนาคารกลางประกาศลดอัตราดอกเบี้ยแล้วทำให้ค่าเงินลดลง
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0.5% เมื่อ ซึ่งในครั้งนั้นถือเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 12 ปี

 

ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ก่อนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการประมาณ 2 สัปดาห์ ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ก่อนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการประมาณ 2 สัปดาห์ ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
จากกราฟดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ก่อนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการประมาณ 2 สัปดาห์ ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐก็อ่อนค่าลงอีกประมาณ 4-5 วันก่อนปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากในช่วงนั้นหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และ กลุ่มประเทศยูโรโซน เป็นต้น ต่างก็ลดอัตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

 

spot_imgspot_img
RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Technical Summary Widget Powered by Investing.com

ANALYSIS TODAY

Translate »