![](https://promo.icmarkets.com/Banners/2021/Thai/THAI_970x250_GlobalMarkets_FSA.jpg)
![](https://promo.icmarkets.com/Banners/2021/Thai/THAI_970x250_GlobalMarkets_FSA.jpg)
ค่าเงินบาทแข็งค่า จับตาประชุมธนาคารกลางสหรัฐ 26-27 ก.ค.นี้ ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศ ผู้ว่าแบงก์ชาติระบุ นโยบายการเงินให้น้ำหนักเงินเฟ้อเป็นหลัก หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ส่วนการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพรายงานว่า สภาวะการเคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม 2565 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (25/7) ที่ระดับ 36.66/68 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (22/7) ที่ระดับ 36.72/74 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินบาทยังคงเคลื่อนไหวในเชิงอ่อนค่าสอดคล้องกับทิศทางภูมิภาค ท่ามกลางแนวโน้มการเร่งคุมเข้มนโยบายการเงินของสหรัฐ นักลงทุนจับตาดูการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมรอบ 26-27 กรกฎาคมนี้ โดย FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 24% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1.00 และให้น้ำหนัก 76% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ในการประชุมดังกล่าว
นอกจากนี้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐถูกกดดันหลังจาก S&P Global เผยแพร่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมภาคการผลิตและภาคบริการเบื้องต้นของสหรัฐเดือน ก.ค. 47.5 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 26 เดือน ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 52.3 อีกทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของสหรัฐเดือน ก.ค. 47.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 52.7 และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 52.6 แสดงให้เห็นถึงการหดตัวในภาคบริการ ในขณะที่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิตของสหรัฐเดือน ก.ค. 52.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 52.7 แต่ยังคงสูงกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ 52.0
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า นโยบายการเงินให้น้ำหนักเงินเฟ้อเป็นหลัก หลังเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป
โดยการอ่อนค่าของเงินบาทเป็นไปตามทิศทางภูมิภาคและไม่เกี่ยวข้องกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยเฉพาะการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่คาดการณ์ว่าเงินดอลลาร์อาจกลับมาอ่อนค่าได้หากตัวเลขเศรษฐกิจ และการคาดการณ์ต่อการดำเนินนโยบายของเฟดเปลี่ยนไป ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 36.63-36.78 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 36.63/65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (25/7) ที่ระดับ 1.0208/12 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (22/7) ที่ระดับ 1.0157/59 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ภายหลังจากวันศุกร์ S&P Global เผยแพร่ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อรวมของยุโรปเดือน ก.ค. 49.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 52.0 และต่ำกว่าคาดการณ์นักวิเคราะห์ 51.0 รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคบริการของยุโรปเดือน ก.ค. 50.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 53.0 และต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ 52.0
อีกทั้งดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคผลิตของยุโรปเดือน ก.ค. 49.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 52.1 และต่ำกว่านักวิเคราะห์คาดการณ์ 51.0 ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.0180-1.0255 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.0240/42 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร
สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (25/7) ที่ระดับ 136.05/07 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันศุกร์ (22/7) ที่ระดับ 1347.57/60 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ หลังดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจากแรงเทขายทำกำไร และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากนักลงทุนลดน้ำหนักการคาดการณ์ปรับขึ้นดอกเบี้ยเฟดร้อยละ 1.00 ในการประชุมสัปดาห์นี้ ซึ่งตลาดยังคงจับตาการประชุมอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 135.89-136.48 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 136.30/32 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่สำคัญ ได้แก่ รายงานความเชื่อมั่นผู้บริโภคจากซีบีเดือน มิ.ย. ยอดขายบ้านใหม่เดือน มิ.ย. ยอดคำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน มิ.ย. ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายเดือน มิ.ย. แถลงการณ์ของคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ การตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยสหรัฐ ดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาส 2 ดัชนีราคาด้านการบริโภคส่วนบุคคล และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ -7.50/-7.25 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ -5.75/-3.25 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ
- กอบศักดิ์ จับตาประชุมเฟด-จีดีพีสหรัฐ ตัวชี้ทิศทางเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลัง
- คาด SET อ่อนตัว รอประชุมเฟด- GDP สหรัฐ
- กสิกรไทย คาดเฟดขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ชี้สหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยต้นปี’66
อ่านข่าวต้นฉบับ: ค่าเงินบาทแข็งค่า จับตาประชุมธนาคารกลางสหรัฐ
คำแนะนำการอ่านบทความนี้ : บางบทความในเว็บไซต์ ใช้ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำศัพท์เฉพาะบางคำอาจจะทำให้ไม่เข้าใจ สามารถเปลี่ยนภาษาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ถนัด บทความของเรารองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา หากใช้ระบบแปลภาษาที่เว็บไซต์ยังไม่เข้าใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกลิ้งค์ที่มาของบทความนี้ตามลิ้งค์ที่อยู่ด้านล่างนี้
Source link : ต้นฉบับเนื้อหาข่าวนี้