spot_imgspot_img
spot_img
หน้าแรกTHAI STOCKกสิกรไทยชี้ฟันด์โฟลว์ไหลออกไม่รุนแรง เหตุต่างชาติยังขาดทุนค่าเงิน 5.2 หมื่นล้าน

กสิกรไทยชี้ฟันด์โฟลว์ไหลออกไม่รุนแรง เหตุต่างชาติยังขาดทุนค่าเงิน 5.2 หมื่นล้าน


ธนาคารกสิกรไทย ขยับกรอบเงินบาทอ่อนค่าสิ้นปีแตะ 35 บาทต่อดอลลาร์ จากเดิมมอง 33.50 บาทต่อดอลลาร์ เหตุดอลลาร์แข็งค่า 1 จุด มีผลต่อเงินบาท 92 สตางค์ ชี้ ธปท.ขึ้นดอกเบี้ยผ่านอัตราแลกเปลี่ยน หลังใช้ทุนสำรองดูแลค่าเงิน 2.7 พันล้านดอลลาร์ ลั่นฟันด์โฟลว์ไม่ไหลออกแม้ส่วนต่างไทย-สหรัฐ จากปัจจัยกังวลขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจาก 1 แสนล้านบาท เหลือ 5.2 หมื่นล้านบาท คาด กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง

วันที่ 21 กรกฎาคม 2565 นายกอบสิทธิ์ ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แนวโน้มเงินบาทในช่วงที่เหลือของปีนี้ ธนาคารประเมินว่า ยังคงมีทิศทางอ่อนค่า โดยมีการปรับประมาณการค่าเงินบาทจากเดิมคาดว่าสิ้นปีจะอยู่ที่ 33.50 บาทต่อดอลลาร์ มาอยู่ที่ 35.00 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งปัจจัยหลักมาจากเงินดอลลาร์แข็งค่าเป็นหลัก และมองไปข้างหน้ายังมีปัจจัยสนับสนุนการแข็งค่าอยู่ ทั้งจากการปรับนโยบายการเงินเข้มข้นขึ้นเพื่อสกัดเงินเฟ้อ และปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics)

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย

อย่างไรก็ดี จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและคาดว่านักท่องเที่ยวจะเข้ามาได้ 7 ล้านคน จะทำให้เงินบาทกลับมาแข็งค่าขึ้นได้

ทั้งนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าอาจจะเริ่มโดนเพ่งเล็ง เนื่องจากไทยยังไม่ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะที่ทั่วโลกทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ย ส่งผลให้ดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Rate) ของไทย -7.2% อย่างไรก็ดี หากดูจะบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขึ้นดอกเบี้ยแล้วผ่านทางอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีการขายเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เพื่อไม่ให้เงินบาทอ่อนค่า บางสัปดาห์เข้าไปดูแลผ่านการขายดอลลาร์และซื้อเงินบาทสูงถึง 5,000 ล้านดอลลาร์ และตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ 2,700 ล้านดอลาร์

ซึ่งหากมีการใช้เงินทุนสำรองมากขึ้นจะมีลักษณะคล้ายวิกฤตต้มยำกุ้งที่ต้องการปกป้องให้เงินบาทอยู่ที่ 25 บาทต่อดอลลาร์ สะท้อนว่าธปท.ขึ้นดอกเบี้ยแต่ผ่านทางอัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ดี หากดูส่วนต่างระหว่างดอลลาร์กับเงินบาทจะมีผลต่อกระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) หรือไม่นั้น มองว่า ช่วงแรกอาจจะมี เพราะตลาดคาดการณ์ไปก่อนหน้า แต่หากดูตราสารหนี้ที่ต่างชาติถือครองอายุ 1 ปี มีอยู่ที่ 187,711 ล้านบาท และลดเหลือ 95,895 ล้านบาท และทรงตัว แม้ส่วนต่างจะปรับสูงขึ้น แต่เนื่องจากการรับรู้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน จึงชะลอการขายตราสารหนี้ออกไป โดยนับตั้งแต่ปี 2550-2564 มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเกิน 1 แสนล้านบาท ปัจจุบันขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนเหลือ 5.2 หมื่นล้านบาท เพราะต้นทุนค่าเงินจากระดับ 34.84 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจุบันขึ้นมาอยู่ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์

“สาเหตุที่เงินบาทอ่อนค่ามาจากดอลลาร์แข็งค่า รวมถึงสกุลอื่นด้วย เพราะหากดูความสัมพันธ์ในตะกร้า DXY ค่อนข้างสูง โดยการปรับแข็งค่าดอลลาร์ทุก 1 จุด จะมีผลต่อเงินบาทประมาณ 92 สตางค์ อย่างไรก็ดี ท่องเที่ยวจะมาช่วยเรื่องค่าเงินบาท เพราะหาดูข้อมูลไว เทียวบินเชิงพาณิชย์เข้ามา 1.08 แสนเที่ยวต่อวัน และจากปัญหาเรื่องก๊าซในยุโรปจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามา ทำให้เงินบาทน่าจะทยอยแข็งค่าได้ รวมถึงปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยปัจจุบันก็มีความแข็งแกร่งในระดับหนึ่งแล้ว จึงยังไม่น่าเห็นฟันด์โฟลว์เทออกไปมากเหมือนช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง”

นายกอบสิทธิ์ กล่าวต่อไป สำหรับทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ยังคงมุมมองที่จะมีการปรับขึ้นในการประชุมเดือนสิงหาคมนี้ ในอัตรา 0.25% และเว้นวรรคเพื่อรอดูข้อมูลเศรษฐกิจ ก่อนจะปรับขึ้นในเดือนพฤศจิกายนอีก 0.25% ซึ่งเป็นการปรับขึ้นในอัตราค่อยเป็นค่อยไป แม้ว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีความเปราะบาง และยังโตต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริงอยู่พอสมควร โดยหากเทียบช่วงวิกฤตต้มยำกุ้งเศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยถึง -9% และวิกฤตโควิด-19 ต่ำกว่าศักยภาพอยู่ที่ -5%

ดังนั้น การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะไม่รวดเร็วเหมือนธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เพราะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็วอาจจะกระทบกับต้นทุนของภาครัฐที่มีการกู้ยืมเงินมาทำโครงการต่างๆ มากมาย และภาคเอกชนที่ยังฟื้นตัวกันอย่างไม่ทั่วถึงได้ หากดูหนี้ภาคคัวเรือน ภาคเอกชน และภาครัฐของไทยรวมกันสูงถึง 217% ต่อจีดีพี ขณะที่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมเดือนนี้มองว่าจะมีการปรับขึ้นที่ระดับ 0.75% โดยมองว่าตลาดเริ่มมีความกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพิ่มขึ้น และมองว่าเงินเฟ้อน่าจะใกล้ระดับสูงสุดแล้ว

“เราอาจจะมองการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติในระดับที่ต่ำกว่าตลาดที่มองว่าน่าจะสัก 0.50% หรืออยู่ในระดับ 2.50%ในปีหน้า แต่เรามองว่า 1% กว่า ๆ ก็น่าจะพอ เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแม้จะต่อเนื่อง แต่ก็ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง ตัวเลขการท่องเที่ยวแม้จะดี คาดการณ์นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 7 ล้านคน หรือมากกว่า แต่ก็ยังห่างจากเดิมที่ 40 ล้านคนที่คาดว่าจะกลับมาในปี 67 รวมถึงโครงการเยียวยาต่างๆ ที่ภาครัฐทำในช่วงก่อน ก็อาศัยเงินกู้มา การปรับขึ้นอ้ตราดอกเบี้ยในระด้บที่สูงอาจจะทำให้กระทบในหลายๆส่วน โดยเฉพาะความสามารถในการชำระหนี้”

อ่านข่าวต้นฉบับ: กสิกรไทยชี้ฟันด์โฟลว์ไหลออกไม่รุนแรง เหตุต่างชาติยังขาดทุนค่าเงิน 5.2 หมื่นล้าน

     

คำแนะนำการอ่านบทความนี้ : บางบทความในเว็บไซต์ ใช้ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำศัพท์เฉพาะบางคำอาจจะทำให้ไม่เข้าใจ สามารถเปลี่ยนภาษาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ถนัด บทความของเรารองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา หากใช้ระบบแปลภาษาที่เว็บไซต์ยังไม่เข้าใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกลิ้งค์ที่มาของบทความนี้ตามลิ้งค์ที่อยู่ด้านล่างนี้


Source link : ต้นฉบับเนื้อหาข่าวนี้

spot_imgspot_img
RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Technical Summary Widget Powered by Investing.com

ANALYSIS TODAY

Translate »