Leverage แปลว่า “ความสามารถในการมีอิทธิพลต่อการกระทำของผู้อื่น” หรืออาจจะแปลว่า “การงัด” ก็ได้
ในทางธุรกิจและการเงิน Leverage แปลว่า ความสัมพันธ์หรืออัตราส่วนระหว่างหนี้สินของบริษัทต่อมูลค่าของสินทรัพย์ คำศัพท์อย่างเป็นทางการคือ D/E คำว่า ‘เลเวอเรจ’ ในที่นี้อาจใช้คำว่า “Gearing” หรือ “Leveraging” แทนก็ได้ ความหมายเหมือนกัน มันการใช้หนี้ (ทุนที่ยืมมา) เพื่อการลงทุนหรือโครงการ ผลที่ได้คือเพิ่มผลตอบแทนที่เป็นไปได้จากโครงการเป็นสองเท่า ในขณะเดียวกัน เลเวอเรจจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่าของข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่การลงทุนไม่ออกไป
ในบทความนี้ เราจะปูพื้นฐานให้คุณทั้งหมด ตั้งแต่ Leverage คืออะไร และสำคัญกับตลาด Forex อย่างไรบ้าง โดยมีหัวข้อดังต่อไปนี้
คุณจะได้เรียนรู้
- Leverage คืออะไร
- Leverage ในตลาด Forex
- Lot กับ Leverage
- Leverage กับ Margin
- ควรใช้ Leverage เท่าไหร่ดี?
Leverage คืออะไร
Leverage หรือ เลเวอเรจ คือ เครื่องมือทางการเงินที่ทำให้ผู้ใช้สามารถ ‘ก่อหนี้’ หรือกู้ยืมเพื่อซื้อสินทรัพย์มาครอบครองได้ และในการการเทรด Forex นั้น มันก็คือการยืมเงินจากโบรกเกอร์มาบางส่วน เพื่อที่จะสามารถซื้อสินทรัพย์หนึ่งๆ ที่มีมูลค่ามากกว่าเงินที่เรามีอยู่จริงๆ ได้
- การเทรดโดยใช้เลเวอเรจ เราเรียกอีกอย่างว่า “Margin Trading”
- Margin คือ หลักประกันที่ต้องวาง “จำคำนี้ไว้ดีๆ”
ซึ่งนั่นหมายความว่า Leverage จะช่วยให้นักลงทุน สามารถ “เพิ่มผลลัพธ์” หรือขนาดของการลงทุนได้มากกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่จริงๆ เมื่อได้กำไรก็จะได้กำไรมากกว่าปกติ แน่นอนว่า มันสามารถทำให้เกิดการขาดทุนอย่างหนักได้เช่นกัน ดังนั้น เทรดเดอร์ที่ใช้ เลเวอเรจ ควรจะต้องเข้าใจเทคนิคการตั้ง Stop Loss เป็นอย่างดี
เริ่มเทรดโดย “ไร้ความเสี่ยง” กับบัญชีเงินจำลอง
การเทรดด้วย Leverage นั้น แม้แต่เทรดเดอร์มืออาชีพเองก็นิยมเข้าไปฝึกฝนในระบบบัญชีเงินจำลอง หรือที่เรียกว่า “Demo Account” อยู่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการใช้เลเวอเรจจะเกี่ยวข้องกับการคำนวณเงินทุนและหลักประกัน (Margin) อยู่ตลอด การทดสอบในระบบที่จำลองเงินขึ้นมา จึงเป็นสิ่งสำคัญและปลอดภัย
- สามารถเทรดได้เหมือนตลาดจริงทุกประการ
- สามารถใช้เครื่องมือเทรดและสัมผัสถึงสภาพแวดล้อมแบบบัญชีจริงทุกประการ
- คำนวณกำไรขาดทุนเหมือนเงินจริงทุกประการ และคำนวณตามราคาตลาดจริงๆ
คุณสามารถฝึดเทรดได้เรื่อยๆ ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึง Price Action ขั้นสูง โดยไม่มีความเสี่ยงใดๆ ผ่านแพลตฟอร์ม MetaTrader 5 ที่จะช่วยให้คุณสามารถออกแบบประสบการณ์การเทรดของคุณเองได้ คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีเงินจำลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
Leverage ในตลาด Forex
เราทราบแล้วว่า Leverage คือการยืมเงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ โดยมีพื้นฐานจากอัตราส่วน Debt to Equity ซึ่งสำหรับ Leverage Forex จะมีลักษณะคล้ายกัน แต่ต่างกันตรงที่ Leverage Forex จะใช้อธิบายความสัมพันธ์และกำหนดให้อยู่ในรูปของ “เงินหลักประกันที่ต้องวาง : มูลค่าสินทรัพย์” เช่น 1 : 500, 1 : 30 เป็นต้น
- 1 : 1 มีความหมายว่า “ไม่ใช้เลเวอเรจ”
- 1 : 2 มีความหมายว่า เงินทุน 1 USD จะสามารถถือครองสถานะได้มากสุดถึง 2 USD
- หรือจริงๆ อาจพูดได้ว่า ขนาดสัญญาทุกๆ 2 USD เราจะต้องวาง “เงินหลักประกัน“ เป็นจำนวน 1 USD
- 1 : 50 มีความหมายว่า วางเงิน Margin 1 USD ก็สามารถถือครองสถานะขนาด 50 USD ได้
- 1 : 500 ก็เช่นเดียวกัน เราสามารถวางเงินหลักประกันเพียง 1 USD ก็สามารถถือครองสถานะขนาด 500 USD ได้
- ดังนั้น ถ้ามีเงินทุน 1,000 USD ก็จะเทรดขนาดสัญญาได้สูงสุด 1,000 x 500 = 500,000 USD
ทำไมเราจึงต้องใช้ Leverage ระดับ 1 : 100, 1 : 500 ทำไมเราต้องยืมมาเป็นร้อยๆ เท่า เพื่อใช้ในการเทรด Forex คำตอบของเรื่องนี้อยู่ในภาพที่ 1.1 ด้านล่าง ให้สังเกตการเคลื่อนไหวตลอด 5 ปีที่ผ่านมาของคู่เงิน EURUSD ให้ดีๆ โดยแต่ละเส้นแบ่งแนวตั้ง คือระยะเวลา 1 ปี
USDJPY, H1 – Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
Disclaimer : กราฟราคาที่แสดง ณ ที่นี้ ใช้เพื่อประกอบการศึกษาเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำหรือคำชักชวนให้มีการลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินใดๆ ที่ให้บริการโดย Admiral Markets (CFDs, ETFs, Shares) สถิติในอดีตไม่สามารถใช้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงเหตุการณ์ในอนาคตได้
Lot กับ Leverage
จะเห็นว่า ในภาพ 1.1 เราได้ลองมาร์คราคาไว้ที่บริเวณ 1.2170 อันเป็นจุดเกือบสูงสุดในปลายปี 2017 และมาร์คจุดต่ำสุดไว้บริเวณ 1.0900 ในช่วงต้นปี จะเห็นว่า รอบของขาลงในภาพคือประมาณ 3 ปี และการเปลี่ยนแปลงของคู่เงิน 1.2170 – 1.0900 = 0.1270 หรือคิดเป็น 12.7% เลยทีเดียว
- สมมติสถานการณ์ว่าคุณเป็นผู้ซื้อสกุลเงิน EUR โดยคุณซื้อยูโรมา 1 EUR ด้วยเงินจำนวน 1.0900
- เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี คุณนำ 1 EUR ไปขายออกที่ราคา 1.2170 เท่ากับว่า กำไรของคุณคือ 0.1270 USD
- ถ้าคุณซื้อ 1,000 EUR คุณจะได้กำไรถึง 127 USD
- แต่ถ้าคุณใช้เลเวอเรจสูง 10 เท่า จำนวนเงินที่คุณจะได้รับก็คือ 1,270 USD
- สรุปก็คือ การใช้ Leverage มีวัตถุประสงค์เพื่อ “ผลลัพธ์ในการลงทุน”
ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณต้องการซื้อสกุลเงิน EUR เป็นปริมาณเท่าใด จากตัวอย่างในภาพ ถ้าคุณต้องการกำไร 127 USD คุณก็จำเป็นต้องซื้อ 1,000 EUR ซึ่งตามตัวอย่าง คุณต้องใช้เงินถึง 1090 USD (1,000 x 1.0900) แต่ถ้าคุณมีเงินเพียง 220 USD มันก็จำเป็นที่คุณจะต้องใช้ Leverage อย่างน้อย 5 เท่า หรือ 1 : 5 นั่นเอง
ตามมาตรฐานของการเทรดตราสาร CFD ซึ่งเป็นตราสารมาตรฐานสำหรับการเทรด Forex (อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ” CFD คืออะไร“) เราจะไม่ได้กำหนดปริมาณการเทรดเป็นหน่วยสกุลเงิน แต่จะกำหนดให้อยู่ในรูปของ Lot ดังต่อไปนี้
- 1 Lot = 100,000 Unit
- 0.1 Lot = 10,000 Unit
- 0.01 Lot = 1000 Unit
ซึ่งหมายความว่า ถ้ายึดตามตัวอย่างในภาพ 1.1 และคุณอยากได้กำไร 127 USD คุณก็ต้องซื้อ 1,000 EUR ซึ่งตามมาตรฐาน CFD คุณจะต้องเข้า Buy เป็นจำนวน 0.01 Lot หรือถ้าต้องการซื้อมากกว่า เช่น 500,000 EUR ก็เท่ากับว่า คุณต้องกดซื้อเป็นจำนวน 5 Lot ทั้งนี้ คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง Lot ได้ที่บทความ ” Lot คืออะไร”
เริ่มฝึกใช้ Leverage ในการเทรดจริง!
คุณรู้หรือไม่? MetaTrader 5 หรือ “MT5” เป็นแพลตฟอร์มการเทรดชั้นนำที่มีเครื่องมือการวิเคราะห์กราฟขั้นสูง, ระบบการเทรดอัตโนมัติ ปรับแต่งเครื่องมือและกราฟได้ตามต้องการ มันจะทำให้คุณเข้าใจเรื่อง Leverage ได้มากยิ่งขึ้นผ่านระบบเงินจำลองที่ให้คุณไปลองเทรดจริง! และถ้าคุณเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ Admiral Markets คุณจะได้รับสิ่งดี ๆ มากมาย ตัวอย่างเช่น
- เปิดบัญชีทดลองได้ฟรี
- และหากต้องการลงทุนในตลาดจริง เงินฝากขั้นต่ำเพียง 25 USD หรือประมาณ 750 บาทเท่านั้น!
- มีหุ้นมากกว่า 4,000 รายการจากตลาดหุ้นสำคัญ 17 ตลาดทั่วโลก เช่น สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, เยอรมนี ฯลฯ
- สามารถใช้ Leverage ได้สูงสุดถึง 1:1000 ทำให้ซื้อขายได้มากกว่าปกติ 1,000 เท่า เหมาะสำหรับการแก้สถานการณ์ต่าง
การเปิดบัญชีกับ Admiral Markets นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี Demo หรือบัญชีจริง คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่ปุ่มด้านล่างนี้ได้เลย
Leverage กับ Margin
ในหัวข้อ “เลเวอเรจ คืออะไร” ข้างต้นนั้น เราได้เกริ่นไปบ้างแล้วว่า การเทรดด้วย Leverage คือการเทรดที่เรียกว่า “มาร์จิ้น Trading” ซึ่งมันคือการที่เราต้องวางเงินเป็นหลักประกันไว้ส่วนหนึ่งเพื่อที่จะสามารถถือครองสถานะหนึ่งๆ ได้ และเราจะต้องวาง มาร์จิ้น เท่าไหร่นั้น มันบอกไว้ในส่วนของ Leverage Ratio อยู่แล้ว
- Leverage จะกำหนดให้อยู่ในรูปของ “เงินหลักประกันที่ต้องวาง (มาร์จิ้น) : มูลค่าสินทรัพย์“
- ถ้าเราใช้เลเวอเรจ 1 : 500 ความหมายก็คือ เราต้องวาง มาร์จิ้น ไว้ 1 หน่วย เพื่อที่จะถือครองสถานะ 500 หน่วยได้
- กรณีตัวอย่าง เช่นถ้าเราต้องการ Buy คู่เงิน EURUSD เป็นจำนวน 1 Lot
- มูลค่าสินทรัพย์ที่จะถือครอง (ขนาดสัญญา) จะเท่ากับ 100,000 USD
- ถ้าเราใช้เลเวอเรจ 1 : 500 ก็จะหมายถึง เราวางเงิน มาร์จิ้น ไว้ 1 USD ต่อการถือครองสินทรัพย์ 500 USD
- หรือ “ทุกๆ 500 USD เราจะต้องวางเงินหลักประกันไว้ 1 USD
- ดังนั้น ถ้าเทรด 1 Lot หรือ 100,000 USD จำนวนเงิน มาร์จิ้น ที่เราต้องวางก็คือ [(100,000 x ราคาปัจจุบัน) ÷ 500] = ประมาณ 200 USD
- ถ้าต้องการเทรด EURUSD เป็นจำนวน 5 Lot เราก็ต้องวาง มาร์จิ้น [(500,000 x ราคาปัจจุบัน) ÷ 500] = ประมาณ 1,000 EUR
ลองศึกษาจากภาพด้านบนนี้จะเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยนี่เป็นหน้าต่างคำสั่งการเทรด จะเห็นตรงลูกศรสีแดงว่า เวลาเราเลือกปริมาณ Volume เป็นเท่าไหร่ก็ตาม มันจะแสดงขนาดสัญญาจริงๆ ไว้ด้านขวา ในกรณีนี้ คือ 1 Lot ในคู่เงิน EURUSD ก็มีมูลค่าเท่ากับสัญญาขนาด 100,000 EUR นั่นเอง โดยราคา Buy อยู่ที่ 1.18623
ภาพด้านบนนี้ คือภาพถัดมาหลังจากได้เข้า Buy คู่เงิน EURUSD ที่ราคา 1.18624 เป็นจำนวน 1 Lot โดยบัญชีนี้ใช้สกุลเงินของบัญชีเป็น USD และใช้ Leverage ในอัตรา 1 : 500
- ในภาพจะเห็นว่า มีการระบุว่า มาร์จิ้น: 237.25 หมายถึง เราได้วางเงิน มาร์จิ้น ไป 237.25 USD เพื่อถือครองสัญญาขนาด 1 Lot นี้
- ถ้ายังไม่เข้าใจให้คิดจาก EUR ก่อน โดยถ้ากรณีที่สกุลเงินของบัญชีนี้เป็น EUR เงิน มาร์จิ้น ที่ต้องวางจะเป็น 200 EUR พอดี เพราะสัญญา 1 Lot ใน EURUSD เท่ากับ 100,000 EUR และบัญชีใช้เลเวอเรจ 1 : 500 ดังนั้นจึงต้องวางหลักประกัน 100,000 ÷ 500 = 200 EUR
- ซึ่งเงิน 200 EUR เมื่อแปลงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ณ ราคาที่เข้าซื้อ) จะได้ 200 x 1.18624 = 237.248 USD (ตัวแพลตฟอร์มจะปัดค่าเป็น 237.25 USD ดังที่เห็นในภาพด้านบนนั่นเอง)
- ไม่ว่าคุณจะ Buy หรือ Sell มันมีค่าเท่ากับคุณกำลังถือครองสัญญาขนาด 100,000 EUR อยู่
- ถ้าคุณ Buy คู่เงิน EURUSD = คุณกำลัง Long EUR (ซื้อตัวหน้า ขายตัวหลัง) เป็นจำนวน 100,000 EUR
- ถ้าคุณ Sell คู่เงิน EURUSD = คุณกำลัง Long USD (ซื้อตัวหลัง ขายตัวหน้า) เป็นจำนวน 118,624 USD
ในหัวข้อนี้หวังว่า เราจะเข้าใจเรื่องเลเวอเรจมากยิ่งขึ้น มันไม่ใช่ว่า เราไปมองแต่เรื่องผลลัพธ์ที่มากขึ้นทั้งฝั่งของกำไรและขาดทุน แต่การใช้ Leverage มีผลโดยตรงต่อปริมาณเงินทุนที่เราต้องวางไว้เป็นหลักประกัน หรือวาง มาร์จิ้น นั่นเอง
ควรใช้ Leverage เท่าไหร่ดี?
ควรใช้ Leverage เท่าไหร่ดี จึงจะถือว่าเป็นค่าที่เหมาะสม เพราะโบรกเกอร์เปิดโอกาสให้เทรดเดอร์เป็นคนเลือกเองว่าจะใช้ Leverage เท่าไหร่ มีตั้งแต่ 1 : 1, 1 : 50 และ สำหรับโบรกเกอร์ Admiral Markets เทรดเดอร์จะสามารถเลือกค่าเลเวอเรจได้สูงสุดถึง 1 : 500
ซึ่งความจริงแล้ว การเลือก Leverage ไว้เยอะๆ ก็เหมือนมีวงเงินบัตรเครดิตติดตัว ซึ่งนั่นแปลว่า “เรามีไว้ แต่เราไม่จำเป็นต้องใช้ให้เต็ม” เราสามารถเลือกเลเวอเรจสูงสุดเท่าที่โบรกเกอร์เสนอให้กับเราได้เลย เพียงแต่เราต้องออกแบบไว้ล่วงหน้าก่อนเลยว่า พอร์ตของเราจะใช้ขนาดการเทรดสูงสุดที่เท่าใด คิดออกมาเป็นจำนวน Lot หรือจำนวนไม้ในการเข้าเทรด
เราต้องรู้จักตัวเราเองและกลยุทธ์ของเราก่อนว่า เราจะสามารถยอมให้มีการเข้าเทรดได้สูงสุดพร้อมกันกี่ Lot? ลองดูตัวอย่างได้ที่หัวข้อ “หัวใจของ Grid : การใช้ประโยชน์จาก Volatility” ซึ่งในบทความดังกล่าว ได้ออกแบบไว้ล่วงหน้าแล้วว่า จำนวนสูงสุดที่จะเทรดคือไม้ละ 0.01 Lot เป็นจำนวน 20 ไม้
- ในกรณีตามตัวอย่าง Lot สูงสุดที่ออกแบบไว้ คือ 0.2 Lot (หรือประมาณ 20,000 EUR)
ถ้าเรามีเงินลงทุน 2,000 EUR เราสามารถใช้ Leverage ที่ระดับ 1 : 20, 1 : 50 ก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะถ้าใช้เลเวอเรจ 50 เท่า ก็หมายความว่า เราสามารถลงทุนได้สูงสุด 2,000 x 50 = 100,000 EUR หรือ 1 Lot แต่ตามกลยุทธ์เราวางไว้เพียง 0.2 Lot เท่านั้น
ไม่สำคัญว่าตอนเปิดบัญชีคุณจะเลือกเลเวอเรจเป็นอัตราส่วนเท่าไหร่ แต่สำคัญที่ตอนเข้าเทรด คุณได้ควบคุมขนาดของการเทรดได้เหมาะสมตามแผนที่คุณวางไว้หรือไม่ ดังนั้น คุณจะใช้บัญชีที่มี Leverage 1 : 500 ก็ได้ แต่ถ้าเวลาเทรด คุณไม่เปิดสถานะเกิน 0.2 Lot ตามที่วางแผนไว้ ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไรเลย
เริ่มต้นเทรดออนไลน์กับโบรกเกอร์ Admiral Markets
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ที่พยายามอธิบายเรื่อง Leverage ให้เข้าใจได้ง่ายมากที่สุด และหากคุณพร้อมกับการเทรดจริงๆ แล้ว เราขอแนะนำให้คุณทดสอบความข้าใจของคุณในบัญชีเงินจำลองหรือ “Demo Account” ซึ่งมันจะทำคุณสามารถเทรดในตลาดโดยปราศจากความเสี่ยงใดๆ สามารถทดสอบกลยุทธิ์ใหม่ๆ ผ่านการซื้อขายที่เหมือนตลาดจริง และเหมือนสภาพแวดล้อมจริงทุกประการ
คุณจะได้ซื้อขายด้วยราคา Real-Time กำไร-ขาดทุนตามการคำนวณจริงๆ เพียงแต่เป็นการเทรดด้วยเงินที่จำลองขึ้นมาเท่านั้นเอง ดังนั้น Demo Account ก็เปรียบเสมือนห้องเรียนที่คุณจะได้ออกแบบประสบการณ์การเทรดได้ด้วยตัวของคุณเอง! คลิกที่แบนเนอร์ด้านล่างเพื่อเปิดบัญชีทดลองได้แล้ววันนี้ ฟรี!
ใช้งาน MetaTrader 5 และเปิดบัญชีทดลองฟรี!
- เปิดบัญชี Demo ได้ฟรี และเปิดใหม่ได้เรื่อย ๆ หากบัญชีหมดอายุ
- เทรดตลาด Commodity สำคัญ ๆ ได้ครบทุกตัว ทองคำ, น้ำมัน, แร่ธรรมชาติ ฯลฯ
- ฝึกลงทุนแบบนักลงทุน VI ด้วยพันธบัตรและกองทุน ETF ชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็น ARK, iShare, SPDR
การเปิดบัญชีกับ Admiral Markets นั้นสะดวกรวดเร็วมาก ๆ คุณเพียงกรอกแค่ชื่อกับอีเมลเท่านั้น คุณก็จะได้รับอีเมลรหัสสำหรับการเข้าเทรด และลิงค์สำหรับดาวน์โหลดโปรแกรมเทรด คลิกเปิดบัญชีที่แบนเนอร์ด้านล่างนี้ได้เลย
ข้อมูลเกี่ยวกับสื่อการวิเคราะห์:
สื่อ, สารสนเทศที่ได้นำเสนอมีรายละเอียดที่เชื่อมโยงกับการวิเคราะห์ การประเมินผลลัพธ์ การคาดการณ์และการพยากรณ์รายเดือนหรือรายสัปดาห์ รวมถึงข้อมูลอื่นใดที่มีลักษณะของข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน (ต่อไปจะเรียกว่า “การวิเคราะห์”) ซึ่งได้เผยแพร่บนเว็บไซต์ของ Aglobe Investments Ltd. ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุน โปรดศึกษาและพิจารณาข้อควรระวังดังต่อไปนี้
- นี่คือการสื่อสารทางการตลาด การวิเคราะห์ที่ถูกเผยแพร่ไปนั้น มีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำทางด้านการลงทุน ไม่ได้จัดทำขึ้นตามข้อกำหนดทางกฎหมายที่ออกแบบมาเพื่อส่งเสริมความเป็นอิสระของการวิจัยการลงทุน (Independence of Investment Research) และไม่อยู่ภายใต้ข้อห้ามใด ๆ ในการจัดการก่อนการเผยแพร่การวิจัยการลงทุน
- การตัดสินใจลงทุนใดๆ ของลูกค้า เป็นการตัดสินใจแต่โดยลำพังของลูกค้าเอง ซึ่ง Aglobe Investments Ltd.จะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดจากการตัดสินใจดังกล่าว ไม่ว่าการตัดสินใจนั้นจะเป็นผลจาก “การวิเคราะห์” หรือไม่ก็ตาม
- ด้วยความมุ่งมั่นที่จะปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าของเราและความเที่ยงธรรมของการวิเคราะห์ Aglobe Investments Ltd ได้กำหนดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องสำหรับการป้องกันและจัดการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- การวิเคราะห์จัดทำโดยนักวิเคราะห์อิสระ (นักวิเคราะห์) (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า “ผู้เขียน”) เนื้อหาเป็นไปตามการประมาณการณ์ส่วนบุคคลของพวกเขา
- ในขณะที่ใช้ความพยายามอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้แน่ใจว่า แหล่งที่มาของเนื้อหาทั้งหมดมีความน่าเชื่อถือและมีการนำเสนอข้อมูลทั้งหมดในลักษณะที่เข้าใจได้ทันเวลา แม่นยำและครบถ้วนมากที่สุด อย่างไรก็ตาม Aglobe Investments Ltd ไม่รับประกันความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของ ข้อมูลใด ๆ ที่อยู่ในการวิเคราะห์
- ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือแบบจำลองใด ๆ ในอดีตของเครื่องมือทางการเงินที่ระบุไว้ในเนื้อหา ไม่ควรถูกตีความว่าเป็นการรับประกันโดยชัดแจ้งหรือโดยนัยโดย Aglobe Investments Ltd สำหรับผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นในอนาคต มูลค่าของตราสารทางการเงินอาจเพิ่มขึ้นและลดลง ไม่มีการรับประกันใด ๆ เกี่ยวกับมูลค่าสินทรัพย์ทั้งสิ้น
- ผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจ (รวมถึงสัญญาสำหรับความแตกต่าง; CFD) เป็นลักษณะของการเก็งกำไรและอาจส่งผลให้เกิดการสูญเสียหรือกำไร ก่อนที่คุณจะเริ่มการซื้อขายโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้