เคทีซีชี้ กนง.ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ตามคาด แบงก์ชาติเร่งถกสถาบันการเงิน ห่วงลูกหนี้เปราะบางไหลออกนอกระบบ ระบุดอกเบี้ยขึ้นไม่กระทบต้นทุนการเงินของบริษัทช่วง 1-2 ปี หลังออกหุ้นกู้ระยะยาวล็อกดอกเบี้ยคงที่ไว้แล้ว
วันที่ 10 สิงหาคม 2565 นางสาวพิชามน จิตรเป็นธรรม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร-ธุรกิจสินเชื่อบุคคล บมจ.บัตรกรุงไทย (KTC) เปิดเผยว่า จากผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จากระดับ 0.50% ต่อปี เป็น 0.75% ต่อปี ถือว่าเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ไม่เพิ่มกระชากแรง
โดยผลจากดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น 0.25% และหากปรับอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าจะยังไม่ได้กระทบต่อบริษัทในช่วง 1-2 ปีข้างหน้านี้ เพราะปัจจุบันบริษัทได้มีการควบคุมและบริหารจัดการเรื่องต้นทุนการเงิน (Cost of Fund) อยู่ โดยมีการออกหุ้นกู้ระยะยาวที่มีสัดส่วนมากถึง 80% ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้แบบคงที่ (Fixed Rate)
แต่หลังจากนั้นในระยะยาวอาจจะมีผลกระทบต่อบริษัทบ้าง โดยขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการเข้ามาหารือกับผู้ประกอบการภาคสถาบันการเงินต่าง ๆ ว่าหากดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นและเข้าสู่ภาวะที่แท้จริงจะมีผลกระทบต่อสถาบันการเงินอย่างไรบ้าง เนื่องจาก ธปท.ค่อนข้างกังวลว่าภาคสถาบันการเงินจะตัด (cut-off) กลุ่มลูกหนี้เปราะบาง กำลังซื้อต่ำ และมีรายได้น้อย ให้ไหลออกไปอยู่นอกระบบ ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้วว่าดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบค่อนข้างแพงกว่าเท่าตัว ดังนั้นคงต้องรอความชัดเจนจากการหารือกับแบงก์ชาติก่อน
“สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลนั้น ถ้าแบงก์ชาติไม่ขยับเพดานดอกเบี้ยให้ ก็จะเหมือนช่วงที่ปรับลดดอกเบี้ยจาก 28% ลงมาเหลือ 25% ต่อปี ที่ทำให้บริษัทต้อง cut-off score ที่เราไม่ไหวออกไปนอกระบบ” นางสาวพิชามนกล่าว
- กนง.เผยแบงก์ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หวั่นกระทบกลุ่มเปราะบาง
- กนง.มติ 6 ต่อ 1 ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในรอบ 4 ปี
- ธอส.ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถึงสิ้นปี’65 ดูแลลูกค้า 1.52 ล้านล้านบาท
- เงินบาทอ่อนค่าทันที 0.4% หลัง กนง.ขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.75%
อ่านข่าวต้นฉบับ: เคทีซีชี้ กนง.ขึ้นดอกเบี้ยตามคาด แบงก์ชาติเร่งถกสถาบันการเงิน
คำแนะนำการอ่านบทความนี้ : บางบทความในเว็บไซต์ ใช้ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำศัพท์เฉพาะบางคำอาจจะทำให้ไม่เข้าใจ สามารถเปลี่ยนภาษาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ถนัด บทความของเรารองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา หากใช้ระบบแปลภาษาที่เว็บไซต์ยังไม่เข้าใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกลิ้งค์ที่มาของบทความนี้ตามลิ้งค์ที่อยู่ด้านล่างนี้
Source link : ต้นฉบับเนื้อหาข่าวนี้