6 สกุลเงินสำคัญของโลกที่มีการซื้อขายมากที่สุด
6 สกุลเงินสำคัญของโลกที่มีการซื้อขายมากที่สุด และ เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสกุลเงินที่มีสภาพคล่องมากที่สุด มีดังนี้ ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar) เงินยูโร (Euro) เยนญี่ปุ่น (Japanese Yen) เงินปอนด์อังกฤษ (Great British Pound) ดอลลาร์ออสเตรเลีย (Australian Dollar) ดอลลาร์แคนาดา (Canadian Dollar)
ประเด็นที่สำคัญ
-
การซื้อขาย Forex เป็นตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหรือการซื้อขายสกุลเงินที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในโลก
-
ในแต่ละวันสกุลเงินต่าง ๆ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างมากในตลาด Forex ปัจจุบันจากข้อมูลในเดือนเมษายน 2019 พบว่ามีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสกุลเงินในตลาด Forex มากกว่า 6.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐต่อวัน
-
ดอลลาร์สหรัฐเป็นสกุลเงินหลักในตลาดฟอเร็กซ์ ในขณะที่สกุลเงินยูโร เยนญี่ปุ่น ดอลลาร์ออสเตรเลีย ดอลลาร์แคนาดา และ ปอนด์อังกฤษก็มีการซื้อขายกันอย่างมากเช่นกัน
-
ดอลลาร์สหรัฐมักเป็นสกุลเงินหลักในการเปรียบเทียบกับคู่สกุลเงินอื่น ๆ ของโลก นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินสำรองอีกด้วย ทำให้ดอลลาร์สหรัฐ มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก
-
เยนญี่ปุ่นเป็นสกุลเงินทางฝั่งเอเชียที่มีการซื้อขายมากที่สุด
6 สกุลเงินสำคัญของโลกที่มีการซื้อขายมากที่สุด มีดังนี้
1.ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar)
ดอลลาร์สหรัฐ บางครั้งเราก็เรียกว่าดอลลาร์ เป็นสกุลเงินที่สำคัญที่สุดในโลกเนื่องจากเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในโลก ดอลลาร์สหรัฐมักใช้เป็นคู่สกุลเงินหลักเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ หรือ สกุลเงินเกิดใหม่ เช่น สกุลเงินบาทไทย เรามักเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar) ถึงแม้ว่าเราอาจจะเทียบกับสกุลอื่น ๆ ด้วย แต่ในการชี้ว่าในแต่ละวันเงินบาทแข็งค่าหรืออ่อนค่าเรามักเทียบกับ ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar) นอกจากนี้ดอลลาร์สหรัฐฯ ยังทำหน้าที่เป็นเหมือนสกุลเงินสำรองทั่วโลก ซึ่งจะถือโดยธนาคารกลางและหน่วยงานด้านการลงทุนของสถาบันแทบทุกแห่งในโลก
นอกจากนี้ จากการยอมรับทั่วโลกของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ บางประเทศจึงใช้ ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar) เป็นสกุลเงินหลักแทนสกุลเงินท้องถิ่น
อีกหนึ่งคุณลักษณะสำคัญของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คือมักจะถูกใช้เป็นสกุลเงินมาตรฐานสำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันดิบ และ โลหะมีค่า ดังนั้น สินค้าโภคภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ต้องผันผวนในมูลค่าอันเนื่องมาจากหลักการทางเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทานเท่านั้น แต่ยังรวมถึงมูลค่าสัมพัทธ์ของดอลลาร์สหรัฐด้วย โดยราคาสินค้าโภคภัณฑ์มีความอ่อนไหวอย่างมากต่ออัตราเงินเฟ้อ และ อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯซึ่งอาจส่งผลต่อมูลค่าของเงินดอลลาร์
2. เงินยูโร (Euro)
เงินยูโร (Euro) ได้กลายเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินยูโร (Euro) เป็นสกุลเงินหลักของประเทศส่วนใหญ่ในยูโรโซน เงินยูโร (Euro) ได้เข้ามาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนในตลาดฟอร์เร็กซ์เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2542
นอกเหนือจากการเป็นสกุลเงินที่เป็นทางการสำหรับประเทศในยูโรโซนส่วนใหญ่แล้ว หลายประเทศในยุโรปและแอฟริกายังใช้ สกุลเงินยูโรเป็นสกุลเงินหลักของประเทศ เพื่อรักษาเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้กระทบกับเศรษฐกิจของประเทศมากเกินไป เป็นผลให้เงินยูโรเป็นสกุลเงินสำรองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก
เนื่องจากเงินยูโรเป็นสกุลเงินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเชื่อถือได้ จึงมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนอย่างมากในตลาดฟอเร็กซ์ และ นอกจากนี้ยังเพิ่มสภาพคล่องให้กับคู่สกุลเงินรองที่เปรียบเทียบเงินยูโรที่ซื้อขายด้วย เงินยูโรมักถูกซื้อขายโดยนักลงทุน สถาบัน กองทุน ฯลฯ ในการเข้าเก็งกำไรจากสภาวะเศรษฐกิจโดยทั่วไปของยูโรโซนและประเทศสมาชิก เหตุการณ์ทางการเมืองภายในยูโรโซนอาจนำไปสู่ปริมาณการซื้อขายสกุลเงินยูโรจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในความสัมพันธ์กับประเทศที่อัตราดอกเบี้ยในประเทศของตนลดลงอย่างมากในช่วงเริ่มต้นของเงินยูโร โดยเฉพาะอิตาลี กรีซ สเปน และโปรตุเกส เงินยูโรอาจเป็นสกุลเงินที่อ่อนไหวกับการเมือง หรือ เหตุการณ์ไม่ปกติ มากที่สุดในตลาดฟอเร็กซ์ เช่นจากเหตุการณ์สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนทำให้สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงอย่างมาก
3. เยนญี่ปุ่น (Japanese Yen)
เยนญี่ปุ่นเป็นสกุลเงินจากเอเชียที่มีการซื้อขายมากที่สุด และ หลาย ๆ คนมองว่าเป็นตัวแทนของความแข็งแกร่งที่อยู่เบื้องหลังการผลิตของญี่ปุ่นและเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการส่งออก ในขณะที่เศรษฐกิจของญี่ปุ่นดำเนินต่อไป เยนก็เช่นกัน (ในบางแง่มุม) เทรดเดอร์ Forex ยังจับตาค่าเงินเยนเพื่อวัดสถานะโดยรวมของประเทศในภูมิภาคแปซิฟิกด้วย โดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และ ไทย ด้วย เนื่องจากสกุลเงินเหล่านั้นมีการซื้อขายน้อยกว่าเงินเยนมากในตลาดฟอเร็กซ์ทั่วโลก
แม้ว่าเงินเยนจะยังคงซื้อขายด้วยปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกันกับสกุลเงินอื่น ๆ แต่เงินเยนมักจะสวิงอย่างรุนแรง เมื่ออัตราดอกเบี้ยระหว่างประเทศที่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสกุลเงินที่มีการซื้อขายกันอย่างมาก เช่น ดอลลาร์สหรัฐและยูโร เป็นตัวกำหนดมูลค่าของเงินเยนอย่างมากหากมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
4. เงินปอนด์อังกฤษ (Great British Pound)
ปอนด์อังกฤษหรือที่เรียกว่าปอนด์สเตอร์ลิงเป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับสี่ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แม้ว่าครั้งหนึ่งสหราชอาณาจักรเคยเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสหภาพยุโรป แต่ประเทศนี้ไม่เคยนำเงินยูโรมาใช้เป็นสกุลเงินหลักเลย ยังคงใช้ปอนด์อังกฤษ เป็นสกุลเงินหลักเหมือนเดิม ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ของค่าเงินปอนด์และการควบคุมอัตราดอกเบี้ยภายในประเทศจากธนาคารกลางของสหราชอาณาจักรเอง
นักลงทุนใน Forex มักจะประเมินมูลค่าของเงินปอนด์อังกฤษโดยพิจารณาจากความแข็งแกร่งโดยรวมของเศรษฐกิจอังกฤษและเสถียรภาพทางการเมืองของรัฐบาล เนื่องจากมีมูลค่าสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง เงินปอนด์จึงเป็นตัวชี้วัด สกุลเงินที่สำคัญ สำหรับหลายประเทศและมีสภาพคล่องสูงในตลาดฟอเร็กซ์ ปอนด์อังกฤษยังทำหน้าที่เป็นสกุลเงินสำรองขนาดใหญ่เนื่องจากมีมูลค่าสัมพันธ์สูงในอดีตเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นทั่วโลก
5. ดอลลาร์ออสเตรเลีย (Australian Dollar)
ดอลลาร์ออสเตรเลียหรือที่เรียกว่าออสซี่ ดอลลาร์ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในสกุลเงินหลักของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดอลลาร์ออสเตรเลียถือเป็นหนึ่งในสกุลเงินที่มักเคลื่อนไหวตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งหมายความว่ามูลค่าของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาในการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญของออสเตรเลีย
การซื้อขายคู่ซื้อขาย AUD-USD ปัจจุบันคิดเป็น 6.37% ของปริมาณอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลก ซึ่งมีปริมาณมากกว่าคู่ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar) เทียบฟรังก์สวิส และ ดอลลาร์แคนาดา
6. ดอลลาร์แคนาดา (Canadian Dollar)
ดอลลาร์แคนาดาบางครั้งก็เรียกว่า loonie เป็นสกุลเงินของสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งหมายความว่ามักจะเคลื่อนไหวตามตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันดิบ โลหะมีค่า และ แร่ธาตุ เนื่องจากแคนาดาเป็นผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ ดอลลาร์แคนาดามักตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ ผู้ค้ามักจะแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์แคนาดาเพื่อเก็งกำไรการเคลื่อนไหวของสินค้าโภคภัณฑ์หรือเพื่อป้องกันสถานะในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์