หน้าแรกKNOWLEDGEเงินเฟ้อ คือ ? ดี หรือ ไม่ดี ? และ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

เงินเฟ้อ คือ ? ดี หรือ ไม่ดี ? และ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

เงินเฟ้อ คือ ? ดี หรือ ไม่ดี ? และ ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร หลายคนน่าจะพอเข้าใจมาบ้าง แต่วันนี้ thaifrx.com จะนำเสนอในอีกมุมมองหนึ่ง เอาจริง ๆ ตัวเลขเงินเฟ้อนี่ล่ะ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดเงิน ทองคำ รวมทั้ง cryptocurrency

เงินเฟ้อ คือ ?

ในทางเศรษฐศาสตร์อัตราเงินเฟ้อหมายถึงการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจในประเทศ หรือ กลุ่มเศรษฐกิจนั้น ๆ เมื่อระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วไปสูงขึ้น ความสามารถของสกุลเงินก็จะซื้อสินค้าและบริการได้น้อยลง ดังนั้นอัตราเงินเฟ้อจึงสอดคล้องกับกำลังซื้อของเงินที่ลดลง ซึ่งภาวะเงินเฟ้อจะตรงกันข้ามกับภาวะเงินฝืด โดยภาวะเงินฝืดจะหมายถึงการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับราคาสินค้าและบริการทั่วไป ปกติการวัดอัตราเงินเฟ้อจะวัดการเปลี่ยนไปของราคาสินค้าและบริการว่าเปลี่ยนไปกี่เปอร์เซ็นต์ ปกติจะเทียบกันปีต่อปี แต่บางครั้งก็วัดเป็นรายไตรมาส หรือ รายเดือน

 

ตัวอย่างอัตราเงินเฟ้อ

ตัวอย่าง เช่น เมื่อปีก่อน เราสามารถซื้ออาหารได้ในราคาจานละ 25 บาท เรามีเงิน 100 บาท เราก็สามารถทานอาหารได้ 4 มื้อ แต่ปีนี้ ราคาอาหารปรับขึ้นเป็นจานละ 50 บาท เรามีเงิน 100 บาท เท่าเดิม แต่ในปีนี้เราสามารถซื้ออาหารทานได้เพียง 2 จาน พูดง่ายๆก็คือเงินเฟ้อทำให้มูลค่าเงินของเรามีค่าน้อยลง หรือ ทำให้เราซื้อของได้น้อยลงนั่นเอง

สาเหตุของเงินเฟ้อ

เงินเฟ้อเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ตัวอย่างเช่น ต้นทุนในการผลิตสินค้าและบริการมีการปรับตัวสูงขึ้น เช่น ราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ค่าแรงสูงขึ้น ราคาน้ำมันสูงขึ้นค่าขนส่งก็สูงขึ้นตาม การที่ต้นทุนสูงขึ้นทำให้คนขายได้กำไรที่น้อยลงจึงมีความจำเป็นต้องปรับขึ้นของสินค้าและบริการ อีกสาเหตุอื่น ๆ ที่พบได้บ่อย ๆ คือการกักตุนสินค้าของประชาชนเมื่อทุกคนมั่นใจว่าสินค้าและบริการนั้น ๆ จะแพงขึ้นเรื่อย ๆ ความต้องการสินค้ามีมากขึ้นแต่สินค้ามีน้อยลง ราคาสินค้าก็จะเพิ่มขึ้น

การวัดอัตราเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อคำนวณจากตัวเลขดัชนี (CPI) หรือ ดัชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจทั้งระบบ เช่น ราคาสินค้าและบริการ ค่าอาหาร ค่าเดินทาง อัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะรวมถึงนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลกอื่น ๆ ที่จะกำหนดมาตรการต่าง ๆ ที่อาจจะกระทบต่อการนำเข้าและส่งออก

ตั้งแต่ต้นปี 2020 ที่มีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดต่ำลงทั่วทั้งโลก เนื่องจากเศรษฐกิจเข้าสู่ช่วงถดถอยและอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง โดยประเทศไทยเอง ตัวเลขอัตราเงินเฟ้อ ติดลบติดต่อกันอย่างยาวนาน

อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ดี หรือ ไม่ดี ?

อัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไปโดยปกติทั่วไปแล้วถือว่าไม่ดีสำหรับเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อที่น้อยเกินไปก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อเศรษฐกิจเช่นกัน นักเศรษฐศาสตร์ส่วนมากสนับสนุนให้มีอัตราเงินเฟ้อเทียบปีต่อปี อยู่ที่ระดับปานกลาง คืออยู่ที่ประมาณ 2% ต่อปี

โดยทั่วไป อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากจะส่งผลเสียต่อผู้ออมและผู้บริโภค เพราะจะทำให้กำลังซื้อของมูลค่าเงินที่ลดลงของผู้ออมและผู้บริโภค อย่างไรก็ตามการที่เงินเฟ้อสูงขึ้นอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้กู้เนื่องจากมูลค่าของหนี้คงค้างที่ปรับอัตราเงินเฟ้อแล้วจะลดลงเมื่อเวลาผ่านไป

ผลกระทบของเงินเฟ้อต่อระบบเศรษฐกิจ

อัตราเงินเฟ้อสามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น หากอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นอาจทำให้สกุลเงินของประเทศหนึ่งลดลง สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ส่งออกโดยทำให้สินค้าและบริการของตนมีราคาไม่แพงมากสู้กับคู่แข่งต่างชาติได้ดีขึ้น เมื่อกำหนดราคาสินค้าและบริการที่ขายเป็นสกุลเงินต่างประเทศอื่น

ในทางกลับกัน อาจส่งผลเสียต่อผู้นำเข้าจากการทำให้สินค้าจากต่างประเทศมีราคาแพงขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นสามารถกระตุ้นการใช้จ่ายได้ เนื่องจากผู้บริโภคจะตั้งเป้าที่จะซื้อสินค้าอย่างรวดเร็วก่อนที่ราคาจะสูงขึ้นอีก ในทางกลับกัน นักออมอาจเห็นคุณค่าที่แท้จริงของการออมที่ลดลง ทำให้ไม่สามารถใช้จ่ายหรือลงทุนในอนาคตได้

หน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการเงินของประเทศ หรือ กลุ่มเศรษฐกิจ เช่นยูโรโซน ปกติแล้วจะเป็นธนาคารกลาง มีหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญในการรักษาภาวะเงินเฟ้อ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้มาตรการผ่านนโยบายทางการเงินเพื่อที่จะกำหนดขนาดและอัตราการเติบโตของปริมาณเงิน

ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา เป้าหมายนโยบายการเงินก่อนที่จะประกาศใช้ของเฟด จะคำนึงถึง อัตราดอกเบี้ยระยะยาว ในระดับปานกลาง เสถียรภาพด้านราคาของสินค้าและบริการ และ การจ้างงาน ซึ่งแต่ละเป้าหมายเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางการเงินที่มั่นคง เราจึงมักเห็น Federal Reserve ออกมาสื่อสารถึงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวอย่างชัดเจนเพื่อรักษาอัตราเงินเฟ้อในระยะยาวให้คงที่ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Technical Summary Widget Powered by Investing.com

ANALYSIS TODAY

Translate »