ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ชี้รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว (สายคุนหมิง-เวียงจันทน์) ลดต้นทุน-ลดระยะเวลาขนส่ง หนุนส่งออกสินค้าเกษตรไทยเพิ่มขึ้น 4,000 ล้านบาทต่อปี
วันที่ 4 สิงหาคม 2565 ศูนย์วิจัย Krungthai COMPASS ธนาคารกรุงไทย รายงานว่า ตลาดจีนมีความสำคัญกับสินค้าเกษตรและอาหารไทย โดยไทยส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังตลาดจีนเป็นหลัก โดยในปี 2564 มีมูลค่ารวมเท่ากับ 3.8 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 26.7% ของมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารทั้งหมดของไทย โดยสัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (สัดส่วนปี 2555 มีสัดส่วน 15.6%) สาเหตุหลักมาจากไทยได้รับอานิสงส์จากการทำข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ
อีกทั้งสินค้าของไทยยังได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีน โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าผลไม้ อาทิ ทุเรียน ลำไย และมังคุด โดยสินค้าเกษตรและอาหารไทยส่งออกทางเรือมากกว่า 80% ของการส่งออก ส่วนที่เหลือเป็นการขนส่งทางถนน
ไฮไลต์สำคัญของรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว
1.รถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวจะเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารของไทยไปยังจีน เนื่องจาก 1) ช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่ง 2) เป็นอีกช่องทางช่วยรองรับการส่งออกสินค้าไปจีนที่มีแนวโน้มเติบโตและช่วยแก้ปัญหาคอขวดการขนส่งที่ติดขัดทางบก 3) ช่วยให้ SMEs เกษตรและอาหารไทยขายสินค้าผ่านแพลตฟอร์ม CBEC ของจีนได้อย่างมีศักยภาพมากขึ้น 4) โอกาสในการขยายฐานตลาดสินค้าเกษตรและอาหารไปยังประเทศอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงด้วยรถไฟ
2.สินค้าเกษตรและอาหารของไทยที่จะได้ประโยชน์เป็นกลุ่มแรก ๆ ได้แก่ กลุ่มผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง โดยคาดว่าในระยะแรก (ปี 2565-2568) รถไฟความเร็วสูงจะช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าทั้ง 2 กลุ่มให้กับไทยเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 4,329 ล้านบาทต่อปี และอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นอีกปีละกว่า 10,000 ล้านบาท ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า
3.อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการขยายตลาดนี้เพิ่มเติม อาทิ ความคุ้มค่าในการปรับเปลี่ยนการขนส่งมาเป็นทางราง และการเชื่อมต่อการขนส่งจากทางรางสู่ผู้บริโภคใน สปป.ลาว รวมทั้งอุปสรรคด้านกฎระเบียบและข้อบังคับระหว่างประเทศต่าง ๆ
โดยเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-เวียงจันทน์ นับเป็นหนึ่งในเส้นทางการขนส่งที่สำคัญสำหรับการค้าระหว่างประเทศของอาเซียนด้วยระบบโลจิสติกส์แบบผสมผสาน (Multi-Modal Transportation) ได้มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นที่จับตามองเป็นอย่างมาก ในแง่มุมของการลงทุน การท่องเที่ยว และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมุมของการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะกับประเทศจีน ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของเส้นทางรถไฟสายนี้
ทั้งนี้ หนึ่งในสินค้าส่งออกสำคัญของไทย คือ สินค้าเกษตรและอาหาร จึงมีคำถามที่น่าสนใจคือ รถไฟความเร็วสูงจะสร้างโอกาสและความท้าทายอะไรให้กับสินค้าเกษตรและอาหารของไทยบ้าง รวมถึงผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวอย่างไร แต่ก่อนที่จะตอบคำถามนั้น อยากให้ผู้อ่านทราบก่อนว่าที่ผ่านมา สถานการณ์การนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารของจีนเป็นอย่างไร
- อีสานเกตเวย์เชื่อมรถไฟจีน-ลาว สร้างโอกาสสินค้าเกษตรไทย
อ่านข่าวต้นฉบับ: รถไฟจีน-ลาว คาดหนุนส่งออกสินค้าเกษตรไทยเพิ่ม 4,000 ล้านบาทต่อปี
คำแนะนำการอ่านบทความนี้ : บางบทความในเว็บไซต์ ใช้ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำศัพท์เฉพาะบางคำอาจจะทำให้ไม่เข้าใจ สามารถเปลี่ยนภาษาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ถนัด บทความของเรารองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา หากใช้ระบบแปลภาษาที่เว็บไซต์ยังไม่เข้าใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกลิ้งค์ที่มาของบทความนี้ตามลิ้งค์ที่อยู่ด้านล่างนี้
Source link : ต้นฉบับเนื้อหาข่าวนี้