ทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex
ปัจจัยที่ใหญ่ที่สุดที่มีอิทธิพลต่อตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (Forex) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่ทำโดยธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก
ธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก ที่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อ Forex ประกอบไปด้วย
-
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) (U.S. Federal Reserve System (Fed))
-
ธนาคารกลางยุโรป (ECB)(European Central Bank (ECB))
-
ธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ (BOE) (Bank of England (BOE))
-
ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น (BOJ) (Bank of Japan (BOJ))
-
ธนาคารแห่งชาติสวิส (SNB) (Swiss National Bank (SNB))
-
ธนาคารแห่งประเทศแคนาดา (BOC) (Bank of Canada (BOC))
-
ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) (Reserve Bank of Australia (RBA))
-
ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ (RBNZ) (Reserve Bank of New Zealand (RBNZ))
การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยถือว่าเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ ก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเราจะพอจะทราบข่าวที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้งเดือน คู่สกุลเงินที่เกี่ยวข้องกับธนาคารกลางที่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อาจจะมีการเคลื่อนไหวของราคาก่อนหน้าที่จะประกาศอัตราดอกเบี้ย 2-3 สัปดาห์ หรือ อาจจะเป็นเดือน และ ในวันที่มีการประกาศราคาสวิงอย่างรุนแรงทันที หลังจากนั้นผ่านไปซักพักราคาอาจจะปรับตัวไปในทิศทางตรงข้ามเนื่องจากตลาดได้ซึมซับข้อมูลมาพอสมควรแล้ว ดังนั้นการทำความเข้าใจวิธีคาดการณ์ และ ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวที่ผันผวนเหล่านี้สามารถนำไปสู่การสร้างผลกำไรที่สูงขึ้นได้
ประเด็นที่สำคัญ ทำไม อัตราดอกเบี้ย จึงมีมีอิทธิพล ต่อ Forex
-
ในตลาด Forex นักลงทุนที่ดีจะติดตามว่าอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงินต่าง ๆ ผันผวนอย่างไร และ ทำไมต้องเป็นเช่นนั้น
-
ปัจจัยหลักประการหนึ่งที่มีอิทธิพลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเหล่านี้ คือ ความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในแต่ละธนาคารกลางสำคัญ 8 แห่งทั่วโลก
-
ก่อนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย หากมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเราพอจะทราบข่าวที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าเป็นเดือน และ ในวันที่มีการประกาศราคาสวิงอย่างรุนแรงทันที
การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางล่วงหน้า
มีข้อมูลและตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ที่จะบ่งชี้ว่าตอนนี้เศรษฐกิจของประเทศดีหรือไม่ดีอย่างไร หากนักลงทุนศึกษาตัวเลขทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศดี ๆ เราจะประมาณการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ชี้วัดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องมากที่สุดที่เกี่ยวกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง มีดังนี้
-
ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index (CPI))
-
การบริโภคและจับจ่ายในประเทศ ( Consumer Spending )
-
อัตราการว่างงาน (Employment levels)
-
ตลาดซับไพรม์ (Subprime market)
-
ตลาดที่อยู่อาศัย (Housing market)
อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงมาจากอะไร
สาเหตุที่ธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เกิดขึ้นจากความกังวล ต่ออัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ธนาคารกลางต้องการลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ลดต่ำลงตามเป้าหมายที่ธนาคารกลางต่าง ๆ ต้องการ ส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณ 2-3 เปอร์เซ็นต์ แต่การปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นก็จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
ในทางตรงกันข้ามธนาคารกลางปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง เมื่ออัตราเงินเฟ้อต่ำ หรือ เศรษฐกิจอยู่ในภาวะถดถอย หรือ อยู่ในช่วงวิฤติต่าง ๆ เช่นผลกระทบจากโควิด ธนาคารกลางต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เพิ่มขึ้น โดยการปรับอัตราดอกเบี้ยลดลง รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ที่จะส่งเม็ดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงก็จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ ลดลงตามไปด้วย
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงส่งผลกับค่าเงินอย่างไร
อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะทำให้เงินไหลเข้าประเทศมากขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีดอกเบี้ยสูงขึ้น ค่าเงินแข็งค่าขึ้น หากเงินไหลเข้าอย่างต่อเนื่องหรือมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกค่าเงินก็จะแข็งค่าค่อนข้างมาก
ตัวอย่างธนาคารกลางเพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยทำให้ค่าเงินแข็งค่า
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น 0.25% สู่ระดับ 0.25-0.50% ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้ และ เป็นการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561
จากกราฟดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ มีการปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในวันที่ประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 มีนาคม 2565 ดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐในวันนี้ปรับตัวลงเนื่องจากตลาดได้ซึมซับมามากพอแล้วกับข่าวธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่ อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนเมษายน 2565 ดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ได้แข็งค่าขึ้นอีกครั้ง ทะลุ 100 แข็งค่าที่สุดในรอบ 2 ปี เนื่องจากมีการคาดการณ์แล้วว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะประกาศอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอีก 0.25-0.50% ในเดือน พฤษภาคม
อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงจะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้น ซึ่งเงินจะไหลจากที่ที่ให้ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ที่ให้ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้สกุลเงินที่มีดอกเบี้ยลดต่ำลง ค่าเงินแข็งอ่อนค่าลง หากเงินไหลออกอย่างต่อเนื่องหรือมีแนวโน้มที่ธนาคารกลางจะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก ค่าเงินก็จะอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก
ตัวอย่างธนาคารกลางประกาศลดอัตราดอกเบี้ยแล้วทำให้ค่าเงินลดลง
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2563 คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือ 0.5% เมื่อ ซึ่งในครั้งนั้นถือเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 12 ปี
จากกราฟดัชนีราคาค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ ก่อนประกาศลดอัตราดอกเบี้ยอย่างเป็นทางการประมาณ 2 สัปดาห์ ค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง หลังประกาศค่าเงินดอลล่าห์สหรัฐก็อ่อนค่าลงอีกประมาณ 4-5 วันก่อนปรับตัวแข็งค่าขึ้น เนื่องจากในช่วงนั้นหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ และ กลุ่มประเทศยูโรโซน เป็นต้น ต่างก็ลดอัตราดอกเบี้ยและอัดฉีดเม็ดเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19