รมว.คลัง ถกแบงก์รัฐออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม หลัง กนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.75% พร้อมสั่งตรึงดอกเบี้ยนานที่สุด
วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้เรียกสถาบันการเงินของรัฐ (SFIs) ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เข้ามาหารือมาตรการดูแลประชาชน หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็น 0.75%
นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ได้ให้นโยบายสถาบันการเงินของรัฐ (SFIs) ในการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม หลังจากที่ กนง. ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็น 0.75% อาทิ การไกล่เกลี่ยหนี้ การออกสินเชื่อใหม่ และการพัฒนาศักยภาพของลูกค้า พร้อมเน้นย้ำให้แต่ละแบงก์ตรึงดอกเบี้ยนานที่สุด ซึ่งแบงก์รัฐแต่ละแห่งมีหน้าที่ในการดูแลลูกค้าแต่ละด้านชัดเจนอยู่แล้ว
อย่างไรก็ดี ยอมรับว่าลูกค้าของ ธ.ก.ส. ส่วนใหญ่คิดอัตราดอกเบี้ยแบบ MRR จำนวน 1 ล้านล้านบาท หากธ.ก.ส. มีการปรับขึ้นดอกเบี้ย ลูกค้ากลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบแน่นอน เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรมีต้นทุนที่สูงขึ้น จึงไม่อยากให้ต้นทุนการเงินปรับเพิ่มขึ้นอีก
“เรายังต้องดูท่าทีของธนาคารพาณิชย์ 4 แบงก์ใหญ่ว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อไหร่ เพราะอาจจะทำให้เงินฝากของแบงก์ ธ.ก.ส.เองไหลออกได้ ดังนั้น จะต้องมาพิจารณาในมิตินี้ด้วย แต่ในหลักการของแบงก์รัฐในด้านการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะต้องเข้าไปช่วยเหลือประชาชนอย่างแน่นอน”
- กนง.เผยแบงก์ไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ย หวั่นกระทบกลุ่มเปราะบาง
- กนง. มติ 6 ต่อ 1 ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในรอบ 4 ปี
- ธอส. ตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ถึงสิ้นปี’65 ดูแลลูกค้า 1.52 ล้านล้านบาท
- แบงก์อั้นไม่ขึ้นดอกเบี้ยกู้-ฝาก ถก ธปท.ขอลดเงินนำส่ง FIDF
- ออมสิน ขยับขึ้นดอกเบี้ยฝากประจำสูงสุด 0.30% ตรึงดอกกู้ เริ่ม 15 ส.ค.
อ่านข่าวต้นฉบับ: อาคม สั่งแบงก์รัฐตรึงดอกเบี้ย-ออกมาตรการช่วยลูกหนี้เพิ่ม
คำแนะนำการอ่านบทความนี้ : บางบทความในเว็บไซต์ ใช้ระบบแปลภาษาอัตโนมัติ คำศัพท์เฉพาะบางคำอาจจะทำให้ไม่เข้าใจ สามารถเปลี่ยนภาษาเว็บไซต์เป็นภาษาอังกฤษ หรือปรับเปลี่ยนภาษาในการใช้งานเว็บไซต์ได้ตามที่ถนัด บทความของเรารองรับการใช้งานได้หลากหลายภาษา หากใช้ระบบแปลภาษาที่เว็บไซต์ยังไม่เข้าใจ สามารถศึกษาเพิ่มเติมโดยคลิกลิ้งค์ที่มาของบทความนี้ตามลิ้งค์ที่อยู่ด้านล่างนี้
Source link : ต้นฉบับเนื้อหาข่าวนี้